ยินดีต้อนรับ

ขอต้อนรับเข้าสู่ weblog ของครูสุวรรดี ช่างเขียน ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สาระมาตรฐานการเรียนรู้


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่  1   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  1. 1      เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  1.2  เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1     เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ         หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2      เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3   สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1     เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2      เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4   แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1     เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์                    มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว 4.2      เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ           
                                   สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
                                    ประโยชน์
สาระที่ 5   พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1     เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม   มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ                  นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1     เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1     เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์


มาตรฐาน ว 7.2      เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

SCIENCE CAMP 2552



หลักการและเหตุผล
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้กำหนดจุดมุ่งหมาย ให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้และค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด โดยให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการให้นักเรียนเป็นผู้คิด ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีการที่หลากหลาย กิจกรรมที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ดังกล่าวมีหลายวิธี ซึ่งกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ ช่วยฝึกฝนและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงและได้พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง อดทน เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ได้ดีขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ กระบวนการคิดและประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์
๒. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการปฏิบัติจริง
๓. เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการศึกษาระดับสูง
๔. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ และรู้จักเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ นอกห้องเรียน
๕. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕-๖ แผนการเรียนวิทย์-คณิต จำนวน ๑๒๐ คน

ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒ รวม ๓ วัน ๒ คืน

สถานที่ดำเนินการ
ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จ.ประจวบคีรีขันธ์
บ้านกร่างแคมป์ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

ผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

ผลการดำเนินกิจกรรม
๑. ประชุมคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน กำหนดรูปแบบกิจกรรม บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๒. สำรวจสถานที่จัดค่าย/สถานที่ศึกษาดูงาน ติดต่อประสานงานกับวิทยากร เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๓. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้อำนวยการโรงเรียน และได้รับการอนุมัติโครงการเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๔. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ บางท่าน ตัวแทน รายละเอียดดังคำสั่งโรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ ที่ ๑๙๓/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
๕. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเพื่อทราบวัตถุประสงค์ และขั้นตอนการดำเนินงานระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒
๖. ดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยนำนักเรียนทัศนศึกษาศูนย์เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ (ช่วงเช้า) และนำนักเรียนเข้าค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ณ บ้านกร่างแคมป์ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒

งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๐,๗๕๗.๐๐ บาท ซึ่งใช้งบประมาณในการดำเนินการจากโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี (งบประมาณส่วนเกินเรียกเก็บจากนักเรียนส่วนหนึ่ง และมีผู้สนับสนุนส่วนหนึ่ง)

ผลการประเมิน
จากผลการประเมิน แสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประจำปี ๒๕๕๒ มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นรวมอยู่ในระดับ "มาก" ( = ๓.๘๐, S.D. =๐.๘๐) เมื่อพิจารณาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้ว พบว่า มีค่าน้อยกว่า ๑ แสดงว่านักเรียนมีความคิดเห็นคล้อยตามกัน

ปัญหาและอุปสรรค
๑. ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมเป็นวันเปิดเรียน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน
๒. วิทยากรไม่มีความพร้อม และขาดประสบการณ์
๓. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
๔. นักเรียนระดับชั้น ม.๖ เป็นนักเรียนกลุ่มเดิมซึ่งเคยผ่านการเข้าค่ายฯมาแล้วเมื่อปีก่อน ทำให้ไม่เร้าความสนใจ เนื่องจากบางกิจกรรมเคยทำมาแล้ว

ข้อเสนอแนะ
๑. ระยะเวลาในการจัดค่ายควรเป็นช่วงวันหยุด หรือปิดภาคเรียน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน
๒. ในการสำรวจค่าย ควรดูสถานที่จัดค่ายจริงอย่างละเอียด และพูดคุยกับทีมวิทยากร
๓. ควรหาผู้สนับสนุนการจัดค่ายก่อนการเข้าค่ายเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง
๔. สถานที่จัดค่าย ควรสับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ ๆ และเกิดความตื่นตัวในการเรียนรู้ เป็นการกระตุ้นความสนใจของนักเรียน